ผลงานการจัดการความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการแสวงหาแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good Practice)


ผลงานการจัดการความรู้
Date Uploaded: Jun 17, 2022
User imgdoc

ชื่อเรื่อง
การพัฒนาระบบยืม-คืนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือประจำห้องปฏิบัติการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ปี พ.ศ. 2565
รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
ประเภทผลงาน
ด้านพัฒนากระบวนการทำงาน
ชื่อผู้ส่งผลงาน / รายชื่อคณะทำงาน

       1. นายสมพร  หมวกทอง

       2. นายไชยเชษฐ ขวดแก้ว

       3. นายปกรณ์  เกตุอินทร์

       4. นายธรรมวุฒิ ผ่องใส

       5. นายณัฐพงศ์  เวรุริยะ

       6. นายกิตติพงษ์  ยินดีสิทธิ์

บทสรุปโครงการ

งานห้องปฏิบัติการเป็นงานหนึ่งในกลุ่มงานบริหารวิชาการ ตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณบดี โดยคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีห้องปฏิบัติการแบ่งตามศาสตร์การจัดการเรียนการสอนจำนวน 4 ห้องประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการบริหารงานก่อสร้าง ห้องปฏิบัติการไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  ห้องปฏิบัติการอุตสาหการและโลจิสติกส์  และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  โดยงานห้องปฏิบัติการจะมีบุคลากรสายสนับสนุนทำหน้าที่ให้บริการห้องปฏิบัติการ วัสดุฝึก  อุปกรณ์/เครื่องมือประจำห้อง ดูแลบำรุงรักษา  ตรวจสภาพการใช้งานของเครื่องมืออย่างสม่ำเสมอ พิจารณาซ่อมบำรุงเบื้องต้น เป็นผู้ช่วยสอนหรือที่ปรึกษานักศึกษา  ให้บริการยืม – คืนอุปกรณ์/เครื่องมือแก่นักศึกษา บุคคลภายนอก  จัดทำสถิติและฐานข้อมูลการให้บริการห้องปฏิบัติการ

          จากการดำเนินงานให้บริการของห้องปฏิบัติการทั้ง 4  ได้พบปัญหาด้านการให้บริการการยืม - คืนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการเรียนการสอนแก่นักศึกษาและอาจารย์ เช่น สิ้นเปลืองกระดาษ  ผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวก  การดำเนินงานของระบบล่าช้า ไม่ทันสมัย  สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความไม่พึงพอใจของผู้ใช้บริการ งานห้องปฏิบัติการ กลุ่มงานบริหารวิชาการ สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมจึงคิดพัฒนาระบบยืม - คืนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือประจำห้องปฏิบัติการของคณะขึ้น ทำให้สำนักงานคณบดีมีระบบยืม – คืนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือประจำห้องปฏิบัติการที่ได้รับการพัฒนา จากเดิมที่เป็นระบบ Manual        ใช้แรงงานคนและกระดาษ 100%  ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากร  ไม่ได้รับความสะดวกและคล่องตัวทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ  นอกจากนี้ยังสามารถลดการใช้กระดาษได้ร้อยละ 100  ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นจากการเลือกรายการสิ่งของได้ทุกสถานที่ผ่านสมาร์ทโฟน  ผู้ให้บริการสามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเนื่องจากรายการวัสดุ อุปกรณ์ถูกแบ่งหมวดหมู่อย่างชัดเจน รวมถึงสามารถแสดงสถิติการเข้าใช้ของผู้ใช้บริการ/เดือนได้