ผลงานการจัดการความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการแสวงหาแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good Practice)


ผลงานการจัดการความรู้
Date Uploaded: May 17, 2022
User imgdoc

ชื่อเรื่อง
Innovative arts design Teaching by Humanities and Social Sciences Model
ปี พ.ศ. 2565
รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2
ประเภทผลงาน
ด้านการเรียนการสอน
ชื่อผู้ส่งผลงาน / รายชื่อคณะทำงาน

              อาจารย์ปิยะนุช  ไสยกิจ

บทสรุปโครงการ

           เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) ในปัจจุบันยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ตลอดจนการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยมีความห่วงใยต่อความปลอดภัยในสุขภาพของทั้งนักศึกษา ผู้ปกครอง ตลอดจนอาจารย์และบุคลากร  ของมหาวิทยาลัย อาจารย์จึงจำเป็นต้องปรับการทำงานและการเรียนการสอนเป็นรูปแบบออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยวิธี On Site โดยมีมาตรการรองรับเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และ On Demand เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบทางเดียวมีอาจารย์สอนจากต้นทาง สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งอินเตอร์เน็ตบ้านและมือถือ ซึ่งผู้เรียนสามารถรับชมซ้ำและย้อนหลังได้ โดย Online แบบ Hybrid มีข้อจำกัดเรื่องการสื่อสารระหว่างนักศึกษา และอาจารย์ ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน  ทำให้การสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนน้อยลง ไม่มีสมาธิ ขาดแรงจูงใจในการเรียน

          ในการเรียนการสอน มีการปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ   โดยอาจารย์ผู้สอนสามารถสอบถามปัญหา โดยให้นักศึกษากลุ่มตัวอย่างได้สะท้อนปัญหาให้อาจารย์ผู้สอนทราบจากนั้นวางแผนดำเนินงานออกแบบพัฒนาขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ โดยปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอน arts design เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน ทำให้การสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนน้อยลง ไม่มีสมาธิ ขาดแรงจูงใจในการเรียน โดยอาจารย์ผู้สอนเน้นการใช้สื่อในรูปแบบทฤษฎี ทำให้สื่อการสอนมีการเรียนแบบเดิมๆ ทำให้ผู้เรียนไม่ชอบบรรยากาศในชั้นเรียน นักศึกษาอยากให้มีบรรยากาศที่น่าสนใจ และเกิดกิจกรรมระดมความคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียนผ่านโปรแกรมออนไลน์ที่หลากหลาย รวมถึงใช้ระบบออนไลน์เชิงนวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อช่วยในการจัดการสอนแบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยในการประหยัดทรัพยากรกระดาษ ประหยัดเวลา สะดวก และรวดเร็ว ตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 และการเรียนรู้ในศตวรรษ         ที่ 21 ให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

          โดยอาจารย์ผู้สอนกระตุ้นการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการเทคโนโลยี เชิงปฏิสัมพันธ์เข้ามาช่วยในการเรียนการสอน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสร้างสื่อการสอน เช่น การทำแบบทดสอบ  ก่อนเรียนและหลังเรียนผ่านโปรแกรม kahoot, การสร้างสื่อวาดภาพแบบตามคำถามในชั้นเรียนด้วยโปรแกรม Garyic phone การเลือกการตอบคำถามหรือสุ่มหัวข้อการทำงานด้วยโปรแกรม Random การ Live stream ผ่านระบบโปรแกรม zoom การแชร์สื่อวิดีโอผ่าน youtube การพิมพ์คำตอบในช่องแชท การเปิดไมค์  การตอบคำถาม การสร้างแรงกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ โดยการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เกิดการเรียนรู้ในเชิงบวก โดยอาจารย์ให้คะแนนเมื่อนักศึกษาตอบคำถามได้ เป็นการให้กำลังใจเมื่อนักศึกษา  กล้าแสดงออก การเปิดเพลงคลอ ช่วงก่อนเข้าเรียน ทักทายนักศึกษาก่อนเข้าเรียน โดยให้เช็คชื่อถามตอบกัน ใช้เทคโนโลยีภาพ Green Screen CG ช่วยสร้างบรรยากาศพื้นหลังของอาจารย์ในช่วงเวลาสอน อีกทั้งนักศึกษายังมีส่วนร่วมในการเรียน เช่น ร่วมกับตอบคำถาม โดยให้เสนอแนวคิด ระดมความคิดกันในชั้นเรียน  กล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเพื่อนในชั้นเรียน นับว่าเป็นโครงการที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ไม่ปกติ และยังเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ได้เป็นอย่างดี ภายใต้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน Innovative arts design Teaching by Humanities and Social Science Model