ผลงานการจัดการความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการแสวงหาแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good Practice)


ผลงานการจัดการความรู้
Date Uploaded: Jun 24, 2023
User imgdoc

ชื่อเรื่อง
ระบบประเมินการสอน
ปี พ.ศ. 2566
รางวัล รางวัลชนะเลิศ
ประเภทผลงาน
ด้านพัฒนากระบวนการทำงาน
ชื่อผู้ส่งผลงาน / รายชื่อคณะทำงาน
             1. นางปิยะดา เทพสาธร
             2. นายอุเทน  แสนบัณฑิต
             3. นายอาทิตย์ จารุจันทร์

บทสรุปโครงการ
             ระบบประเมินการสอนเป็นส่วนหนึ่งโครงการพิจารณาผลงานทางวิชาการ สู่ตำแหน่งทางวิชาการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะอนุกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ให้เป็นไปตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ ได้นำแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เรื่องขั้นตอนและวิธีการเกี่ยวข้องกับผลการสอน พ.ศ. 2565  โดยในทางปฏิบัติจริงการดำเนินการประเมินผลการสอน ยังมีขอจำกัด ในเรื่องของช่วงเวลา การติดต่อประสานงาน ส่วนใหญ่จะใช้ หนังสือราชการรูปแบบพิมพ์เอกสาร และให้บริการผ่านเคาน์เตอร์บริการสำนักงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  

             ดังนั้นเพื่อสนับสนุนการทำงานให้ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการประหยัดทรัพยากรและงบประมาณของคณะ ทั้งนี้ยังคงเป็นไปตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564และ ประกาศคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เรื่องขั้นตอนและวิธีการเกี่ยวข้องกับผลการสอน พ.ศ. 2565 ด้านการประเมินการสอน โดยทางคณะอนุกรรมการพิจารณาตำแหน่งประเมินการสอนของคณะ ได้ดำเนินการ จัดทำ ระบบประเมินการสอน (Online) โดยนำขั้นตอนแนวปฏิบัติที่สามารถให้บริการผ่านระบบประเมินการสอน (Online)ได้ ทั้งของผู้ขอรับการประเมิน, ผู้ประเมินผู้ประเมินการสอน และผู้ดูแลระบบ

             ทั้งนี้ เมื่อเริ่มให้บริการแบบระบบประเมินการสอน (online)  คณาจารย์ที่ขอรับการประเมิน สามารถดำเนินการได้ในทุกที่ ทุกเวลา เพียงป้อนข้อมูลเพื่อรับการประเมินการสอน ด้วยการเข้าระบบการประเมินการสอนของคณะ  และที่สำคัญ ส่วนของ หลักฐานที่ประกอบการประเมินการสอน จากเดิมที่ต้อง print รูปเล่มแนบท้ายพร้อม วีดีโอการสอนด้วยแผ่น CD  ปรับเปลี่ยนมาเป็น การส่งไฟล์ เอกสารประกอบการประเมินการสอน  ไฟล์วีดีโอการสอน ทำให้รวดเร็วในการ ส่งเสนอขอรับการประเมินสำหรับคณะอนุกรรมการที่ดำเนินการ จะสะดวกรวดเร็วในประเมินการสอน จากเดิมที่ต้องรอให้ฝ่ายธุรการคณะแจ้ง ผ่านรองคณบดีฝ่ายวิชาการในการร้องขอประเมินการสอนของคณาจารย์ ทำให้ล่าช้า แต่เมื่อใช้ระบบทำให้ตรวจสอบได้รวดเร็วและสามารถนำข้อมูล จากระบบเพื่อทำหนังสือ ร่างส่งรายชื่อคณะอนุกรรมการการประเมินการสอน ให้กับประธานคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา โดยส่งด้วยไฟล์เอกสารไปยังฝ่ายคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งวิชาการทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว   สำหรับ ส่วนของผู้ประเมิน จะช่วยสนับสนุน ส่วนของการประเมินการสอนด้วยการพิจารณาจากเอกสารจากลิงค์ข้อมูลที่ทางคณะอนุกรรมการได้ส่งไปยังอีเมล์ของผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินการสอน ประกอบด้วย ไฟล์เอกสาร ไฟล์วิดีโอการสอน ทำให้สะดวกในการประเมินการสอน ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ จะส่งพร้อมกับเอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบการประเมินผลการสอนที่เป็น รูปแบบพิมพ์เอกสาร เมื่อให้สะดวกในการพิจารณาการสอน เพื่อต้องการทราบผลการดำเนินการแบบระบบประเมินการสอน (Online) ทางคณะอนุกรรมการได้ดำเนินการจัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจต่อระบบการประเมินการสอน (online) จากกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งได้สอบถามแบบเฉพาะเจาะจง ไปยัง กลุ่มผู้ให้บริการ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการระบบประเมินการสอน (Online) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน  48 คนด้วยการจัดทำแบบสอบถาม  4 ด้าน  ดังต่อไปนี้ 
1. ด้านการนำไปใช้  ภาพร่วมมีความพึงพอใจต่อระบบประเมินการสอน ด้านการนำไปใช้  ( =4.87)    ระบบประเมินการสอนช่วยลดขั้นตอนการทำงานและช่วยสนับสนุนการบริการด้านการประเมินการสอนให้กับคณะ (  =4.97) รองลงมาคือช่วยประหยัดการใช้กระดาษ  ( =4.89) เป็นแหล่งข้อมูลช่วยในการสนับสนุนขั้นตอนการทำงานของระบบประเมินการสอนในขั้นตอนอื่นๆ ได้ ( =4.85) 
2. ด้านการให้บริการ ภาพร่วมมีความพึงพอใจต่อระบบประเมินการสอนด้านการบริการ (  =4.83) มีความพึงพอใจในระบบประเมินการสอน (  =4.89) มีความถี่ในการเข้าตรวจสอบข้อมูลประเมินการสอน         (  =4.77)
3. ด้านการออกแบบระบบ ภาพร่วมมีความพึงพอใจต่อระบบประเมินการสอน ด้านการออกแบบระบบ (  =4.79) จัดรูปแบบง่ายต่อการใช้บริการ (  =4.81) ฟังก์ชัน และเมนูสื่อความหมายได้ชัดเจน         (  =4.79) ความเหมาะสมของรูปแบบรายงาน (  =4.77) 
4. ด้านการใช้เนื้อหา ภาพร่วมมีความพึงพอใจต่อระบบประเมินการสอนด้านการใช้เนื้อหา           (  =4.76) ข้อมูลครอบคลุมความต้องการสำหรับสนับสนุนการยื่นคำร้องขอประเมินการสอน (  =4.89) เมนูการใช้งานง่าย (  =4.88) ปริมาณฟังก์ชันและเมนูถูกต้องช่วยสนับสนุนการยื่นขอประเมินการสอน           (  =4.85)  รายงานผลได้ชัดเจนและนำผลมาประกอบการยืนคำร้องขอประเมินการสอนได้ (  =4.83) ประโยชน์ช่วยสนับสนุนการทำงานของคณะในส่วนงานประเมินการสอนและงานที่เกี่ยวข้อง (  =4.79) การเข้าถึงระบบทำได้ง่ายและรวดเร็ว  (  =4.75) ความสะดวกในการตรวจสอบข้อมูลและการจัดเก็บสถิติ       (  =4.73)
             สำหรับการพัฒนาระบบประเมินการสอนโดยมีเป้าหมายจะดำเนินการนำเอกสารทางราชการที่เกี่ยวข้อในทุกกระบวนการ ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับงานประเมินการสอน และจัดทำช่องทางการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ต ระหว่างผู้ขอรับการประเมิน และผู้ประเมิน  เพื่อความสะดวกรวดเร็ว         ในการปฏิบัติงานให้บริการในงานประเมินการสอนของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อไป