ผลงานการจัดการความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการแสวงหาแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good Practice)


ผลงานการจัดการความรู้
Date Uploaded: Jun 16, 2022
User imgdoc

ชื่อเรื่อง
สถานการณ์ความปวดเรื้อรังและชุดโปรแกรมเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาความปวดเรื้อรังแบบพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ปี พ.ศ. 2565
รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
ประเภทผลงาน
ด้านบริการวิชาการแก่สังคม
ชื่อผู้ส่งผลงาน / รายชื่อคณะทำงาน

1. อาจารย์ ดร.ธนากร  ธนวัฒน์

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชารีย์  ใจคำวัง

บทสรุปโครงการ

โครงการสถานการณ์ความปวดเรื้อรังและชุดโปรแกรมเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาความปวดเรื้อรังแบบพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความปวดเรื้อรังในผู้สูงอายุ วิเคราะห์สาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาเป็นชุดโปรแกรมการจัดการแก้ไขอาการปวดเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน การดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

          ระยะที่ 1 การสำรวจสภาพปัญหา การแก้ไขปัญหาของชุมชนที่อยู่เดิม

          ระยะที่ 2 การพัฒนาชุดโปรแกรมการจัดการอาการปวดเรื้อรังด้วยตนเองและการพัฒนาทีมจิตอาสาลดปวดโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วม ผ่ายกิจกรรมจำนวน 4 ครั้ง และกิจกรรมสรุปทบทวนบทเรียนที่ได้จากการจัดโครงการอีก 1 ครั้ง

          ระยะที่ 3 การประเมินผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาอาการปวดเรื้อรังในผู้สูงอายุและแนวทางการพัฒนาในอนาคต

          โครงการสถานการณ์ความปวดเรื้อรังและชุดโปรแกรมเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาความปวดเรื้อรังแบบพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีกลุ่มเป้าหมายหลักคือผู้สูงอายุ 40 คน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ 40 คน รวมทั้งสิ้น 80 คน โดยมีอาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ และนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 36 คน เป็นผู้ดำเนินโครงการ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

          1. การรวบรวมข้อมูล สถานการณ์เบื้องต้น จากการทบทวนเอกสารรายงานผลการดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ/ชมรมผู้สูงอายุ และขออนุมัติทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด

          2. ประชุมและแต่งตั้งคณะทำงานที่เกี่ยวช้องในระดับภายในและภายนอก

          3. การวางแผนงานลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์สำหรับการวางแผนการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพบริบาของพื้นที่เป้าหมาย

          4. ประสานงานกับผู้นำชุมชนและแกนนำในชุมชน นัดหมายวันเวลา สถานที่ และนัดประชุมกลุ่มเป้าหมาย ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์

          5. วิเคราะห์ผล จัดเวทีคืนข้อมูลแก่ชุมชน และวางแผนดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญญาร่วมกับชุมชนโดยใช้วิธีจัดลำดับปัญหาและร่วมฟังแนวทางการแก้ไขปัญหาและออกแบบกิจกรรมร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาจากกลุ่มเป้าหมายและผู้นำชุมชน

          6. ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาอาการปวดเรื้องรัง ประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับความเจ็บปวดเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การใช้ยาและอันตรายจากยาแก้ปวด กิจกรรมการเรียนรู้และฝึกทักษะการดูแลและป้องกันตนเองจากอาการปวดเรื้อรัง กิจกรรมการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรไทยเพื่อจัดการอาการปวดเรื้อรังในผู้สูงอายุ กิจกรรมการให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติ การ  ยืดเหยียด การกดจุด การนวดตนเอง และการคลายเส้นเพื่อลดปวด

          7. ลงพื้นที่เพื่อประเมินผลการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุในการจัดการและดูแลตนเองเกี่ยวกับอาการปวดเรื้อรัง

          8. ถอดบทเรียนที่ได้จากการลงพื้นที่ จัดเวทีคืนข้อมูล เพื่อสะท้อนผลลัพธ์และความสำเร็จจากการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน