ผลงานการจัดการความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการแสวงหาแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good Practice)


ผลงานการจัดการความรู้
Date Uploaded: Jun 24, 2023
User imgdoc

ชื่อเรื่อง
การพัฒนาระบบนำเที่ยวด้วยแผนที่เสมือนจริงสำหรับประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว
ปี พ.ศ. 2566
รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
ประเภทผลงาน
ด้านวิจัยและสร้างสรรค์
ชื่อผู้ส่งผลงาน / รายชื่อคณะทำงาน
                1. นายกิตติพงษ์  ยินดีสิทธิ์
                2. นางสาวสาวิตรี  สร้อยสุดสวาท
                3. นายณัฐพงศ์  เวรุริยะ

บทสรุปโครงการ
                วิศวกรสังคมเป็นกระบวนการพัฒนานักศึกษาเพื่อการเป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะและทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ตอบสนองต่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ การจัดกิจกรรม/โครงการของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นลักษณะการเรียนการสอน และมีการทำงานที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น ซึ่งเป็นการพัฒนานักศึกษาและสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ควรพัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมและศักยภาพในการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุและผล พร้อมทั้งสามารถมองเห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทายส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการพัฒนาและแก้ปัญหาชุมชน ท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติ  อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน เพื่อเพิ่มทักษะในการพัฒนาและแก้ปัญหาชุมชนร่วมกับนักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จึงได้จำทำโครงการ “โครงการพัฒนาระบบนำเที่ยวด้วยแผนที่เสมือนจริงสำหรับประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลนาอิน”
โดยวัตถุประสงค์ของโครงการนี้จัดทำ เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียงแบบผสมผสานบ้านนาอิน ได้มีแผนที่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียงแบบผสมผสานบ้านนาอิน ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น  
                โดยการดำเนินงานตลอดโครงการทางอาจารย์และเจ้าหน้าที่ได้มีการประชุมร่วมกันกับนักศึกษา ตลอดจนการลงพื้นที่เพื่อสำรวจปัญหาแล้วนำปัญหามาวิเคราะห์เพื่อหาสิ่งที่ต้องการพัฒนาให้กับชุมชน จากนั้นจึงได้มีการลงพื้นที่เพื่อไปดำเนินการทำแผนที่เพื่อการท่องเที่ยวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งในทุกๆกิจกรรม นักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ ได้มีการพัฒนาทักษะด้านวิศวกรสังคมและองค์ความรู้อื่นที่ร่วมกันกับชุมชน จนเกิดเป็นนวัตกรรมที่มอบให้กับทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และเกิดความพึงพอใจต่อการใช้ประโยชน์จากแผนที่