ผลงานการจัดการความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการแสวงหาแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good Practice)


ผลงานการจัดการความรู้
Date Uploaded: Jun 16, 2022
User imgdoc

ชื่อเรื่อง
เหล็กน้ำพี้กับการพัฒนาองค์ความรู้การวิจัย
ปี พ.ศ. 2565
รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
ประเภทผลงาน
ด้านวิจัยและสร้างสรรค์
ชื่อผู้ส่งผลงาน / รายชื่อคณะทำงาน

       ผู้ช่วยศาสตราจารย์อดุลย์  พุกอินทร์

บทสรุปโครงการ
การวิจัยได้นำเหล็กน้ำพี้ที่ผ่านการถลุง และหลอมด้วยเตาเหนี่ยวไฟฟ้า (Induction Cooker)  เพื่อเพิ่มธาตุผสมขณะหลอมละลาย ได้แท่งเหล็กที่ผ่านการเพิ่มคุณสมบัติ น้ำมาขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีการกลึง การเจียระไนคมตัด การขึ้นรูปด้วยเครื่องจักรกลอัตโนมัติ Computer Numerical Control : CNC การเพิ่มคุณสมบัติทางโลหะวิทยา การเคลือบผิวแข็งด้วยโค๊ดติ้งไทเทเนียม (Coating TiAIN) และวิเคราะห์ปริมาณธาตุผสมได้เครื่องมือตัดดอกสว่านเหล็กน้ำพี้น้ำมาออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียลแบบ 22 เพื่อหาความเร็วรอบและความเร็วตัดที่เหมาะสมกับการเจาะเหล็ก SCM440 ขนาดความหนา 15 มิลลิเมตร การวิจัย พบว่า ความเร็วรอบที่เหมาะสมเท่ากับ 400 รอบต่อนาที และความเร็วตัดเท่ากับ 36 เมตรต่อนาที การวิจัยจึงนำผลมาออกแบบการทดสอบการเจาะกับเหล็กอุตสาหกรรมทั่วไปจำนวน 3 ตัวอย่าง แบบสุ่มตัด คือ เหล็ก SS41 เหล็ก S45C และเหล็ก SCM440 และการทดลองการเจาะใช้วิธีแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD ) แบบสุ่ม พบว่า HO = 12.84 อยู่ในบริเวณปฏิเสธ จึงบอกได้ว่าการเจาะเหล็กทั้ง 3 ชนิดมีความแตกต่างกันอย่างน้อย 2 ชนิดเหล็ก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ α=0.05 และการเปรียบเทียบวิธีดันแคน (Duncans multiple range range test : DMRT) พบว่าเหล็กคู่ที่ 3 คือ เหล็ก S45c Y2 กับเหล็ก SS41 Y1 = มีความแตกต่าง และออกแบบ การหาค่าร้อยละ% Yield การเจาะดอกสว่านเหล็กน้ำพี้ ได้ค่าเท่ากับ 66.67 เป็นเศษแบบม้วนตัวมาก ไม่เกิดสีจากการไหม้จากการเจาะ และการเจาะดอกสว่านอุตสาหกรรมทั่วไปได้ค่าร้อยละ %Yield เท่ากับ 15.34 เป็นเศษแบบม้วนตัวน้อย มีสีการไหม้ที่เกิดจากความร้อนในการเจาะ การวิจัยจึงเป็นไปตามวัตถุประสงค์