ผลงานการจัดการความรู้
- ชื่อเรื่อง
- การทำงานเป็นทีม ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย Work breakdown structure
- ปี พ.ศ. 2565
- รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2
- ประเภทผลงาน
- ด้านพัฒนากระบวนการทำงาน
- ชื่อผู้ส่งผลงาน / รายชื่อคณะทำงาน
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิวัตม์ กมลคุณานนท์
2. นายกัลป์ไชย ชัยอารีราษฎร์
3. นางสาวนริศรา เมืองจันทร์
4. นางสาวนราภรณ์ อัมพวัน
5. นางสาวอัชญลี คันศร
- บทสรุปโครงการ
ในการดำเนินงานโครงการ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการบริหารโครงการเพื่อให้โครงการนั้นสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ได้แก่ 1) Project Scope Management ขอบเขตงาน (Scope definition) เป็นการแบ่งงานหลัก ๆ ในโครงการให้ย่อยลงจนสามารถมองเห็นรายละเอียดได้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง 2) Project Time Management การบริหารกิจกรรมและกระบวนการในโครงการ เพื่อให้โครงการสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 3) Project Cost Management กระบวนการเกี่ยวกับการประมาณการ (Estimate Costs) การตั้งงบประมาณ (Determine Budget) และการควบคุมต้นทุน (Control Cost) ในโครงการ เพื่อให้โครงการสำเร็จตามเป้าหมาย โดยอยู่ในงบประมาณที่ได้รับอนุมัติมา 4) Project Quality Management (PQM) กระบวนการตรวจสอบและติดตามคุณภาพ อันทำให้มั่นใจได้ว่าโครงการที่ดำเนินการนั้น ได้ตอบโจทย์กับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการที่ตั้งไว้ ซึ่งส่วนที่สำคัญคือ quality system
เนื่องจากการทำงานในหน่วยงานจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือช่วยในการทำงานเพื่อให้งานหรือโครงการต่างๆ สำเร็จลุล่วงโดยไม่มีข้อผิดพลาด หรือมีข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุด ในการการฝึกหัดให้บุคลากร ในหน่วยงานใช้ Work Breakdown Structure (WBS) เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงานเพื่อแบ่งเบาลดความยุ่งยาก และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของขั้นตอนการทำงานว่าถูกต้อง ครบถ้วนตามกระบวนการ และรวมถึงสิ่งของที่ต้องใช้ในการทำงานของแต่ละโครงการ และเป็นการฝึกให้บุคลากรรู้จักการทำงานที่เป็นขั้นตอน มีแบบแผน โดยพิจารณาจากรายละเอียดขอบเขตโครงการที่ระบุไว้ใน WBS มีรูปแบบการเขียนที่ชัดเจนโดยจะแบ่งออกเป็นลำดับกิจกรรมที่ต้องทำงานในงานนั้นๆ สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่งานที่ใหญ่ที่สุด (โครงการ) จนถึงงานในระดับย่อยที่สุด โดยแบ่งงานในโครงการออกเป็นหมวดๆ ย่อยลงไปเรื่อยๆ ทำให้บุคลากรสามารถฝึกหัดการแก้ปัญหางาน หรือคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ใช้ความรู้ความสามารถในการทำงานซึ่งถือว่า เป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคลากรอีกทางหนึ่ง
สำนักวิชาศึกษาทั่วไปนำเทคนิค WBS มาใช้ในหน่วยงานตั้งแต่ปี 2562 โดยบุคลากรในหน่วยงานเห็นพ้องต้องกันว่า WBS เป็นเครื่องมือที่ดีที่ช่วยให้สนับสนุนการดำเนินงานโครงการให้เสร็จสมบูรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการบริหารความเสี่ยงในการทำโครงการ สำนักวิชาศึกษาทั่วไปจึงนำเทคนิค WBS มาใช้ในการดำเนินการทุกโครงการ โดยมีผลการดำเนินงานโครงการอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้เกิดความประทับใจกับผู้เข้าร่วมโครงการภายนอกหน่วยงาน ได้รับคำชื่นชมจนมีผู้กล่าวว่าสำนักวิชาศึกษาทั่วไปเป็นเบอร์หนึ่งในการทำโครงการกิจกรรมนอกจากนั้นสำนักวิชาศึกษาทั่วไปได้ขยายผลการทำงานด้วย WBS โดยการนำไปประยุกต์ใช้กับโครงการศูนย์สอบและสนามสอบท้องถิ่น ภาคเหนือ 2 โดยได้ดำเนินการร่วมกัน 3 หน่วยงาน ซึ่งเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำ WBS ไปใช้ต่อในหน่วยงานอื่น ๆ โดยโครงการดังกล่าวไปรับรางวัลอันดับที่ 3 จากศูนย์สอบทั่วประเทศ ในอนาคตสำนักวิชาศึกษาทั่วไปมุ่งหวังให้หน่วยงานอื่นในมหาวิทยาลัยเรียนรู้และปรับใช้ WBS ในการดำเนินการโครงการเพื่อความสำเร็จของโครงการต่อไป