ผลงานการจัดการความรู้
- ชื่อเรื่อง
- กลไกการดำเนินพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม โครงการ U2T ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ปี พ.ศ. 2565
- รางวัล รางวัลชนะเลิศ
- ประเภทผลงาน
- ด้านบริการวิชาการแก่สังคม
- ชื่อผู้ส่งผลงาน / รายชื่อคณะทำงาน
1. อาจารย์ ดร.สุดารัตน์ รอดบุญส่ง
2. อาจารย์ ดร.สุริยา คำกุนะ
3. อาจารย์ ดร.สุทธิพงศ์ ศรีจุมพล
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพิน เถื่อนศรี
5. อาจารย์ทิพาพร โพธิ์ศรี
- บทสรุปโครงการ
กลไกการดำเนินพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม โครงการ U2T ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สู่การนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ด้านการบริการสู่สังคมนั้น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ขอนำเสนอรูปแบบการดำเนินงานโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลในรูปแบบการใช้กลไกขับเคลื่อนจากตำบลเข้มแข็ง (Best Practice) ของโครงการ U2T จำนวน 1 ตำบล คือ ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย ภายใต้ชื่อโครงการย่อย “การเสริมสร้างทักษะชีวิตและพัฒนาทักษะอาชีพสู่การยกระดับวิถีชุมชน พื้นที่ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์” เนื่องจากเป็นตำบลหลัก โดยตำบลดังกล่าวมีกิจกรรมและกลไกการดำเนินงานที่มีเป้าหมายเพิ่มเติมจากวัตถุประสงค์โครงการอีกนั่นคือการมุ่งเน้นสร้างกระบวนการเรียนรู้ บูรณาการทำงานพันธกิจของคณะและการขับเคลื่อนการทำงานโครงการ U2T ตำบลอื่น ๆ ในพื้นที่ความรับผิดชอบในแบบการทำกิจกรรมคู่ขนาน รูปแบบกิจกรรมที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ ประกอบด้วยการจ้างงานตามภารกิจต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของโครงการรายตำบล (ระดับ System Integrator) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ออกแบบการทำงานร่วม รวมถึงประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างความรู้สร้างความเข้าใจกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กิจกรรมรวบรวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ และสถานการณ์การปัญหาในพื้นที่เพื่อวิเคราะห์ชุดต้นทุนศักยภาพและสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบันในพื้นที่ (ด้านสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารจัดการชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ด้านการเกษตร ด้านการท่องเที่ยว และด้านเศรษฐกิจ) เพื่อต่อยอดสู่การนำเข้าระบบฐานข้อมูลเดิม กิจกรรมการพัฒนาทักษะการจัดการวิสาหกิจชุมชน การสร้างสัมมาชีพของประชาชน และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) กิจกรรมการพัฒนารูปแบบสินค้าและบริการให้มีเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชน เพื่อสร้างความแตกต่าง เพิ่มมูลค่า เพิ่มช่องทางการตลาด งบประมาณกิจกรรมการพัฒนา creative economy สู่การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน กิจกรรมการการเสริมสร้างทักษะชีวิตและสร้างระบบคิดต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน และกิจกรรมเวทีสรุปผลการดำเนินงานและส่งมอบผลลัพธ์การทำงานต่อคณะผู้บริหารประจำตำบล และหลังการดำเนินโครงการได้มีเครือข่ายความร่วมมือมาสานงานต่อทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาดำเนินงานของโครงการ ได้สร้างกลไกของกิจกรรมที่บูรณาการงานพันธกิจสัมพันธ์และบริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์เพื่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ บูรราการทำงาน โดบใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เป็นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการของการสร้างความรู้เป็นแนวคิดที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเชื่อมประสานส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนา ให้มาเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาร่วมกันแบบบูรณาการทั้งในพื้นที่เดียวกันต่างงบประมาณโครงการ หรือต่างพื้นที่ในพื้นที่รับผิดชอบของคณะฯ โดยอาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชน ทุกคนต่างได้ร่วมวางแผนการดำเนินงานทุกขั้นตอน ร่วมกันแลกเปลี่ยน ถอดบทเรียนเพื่อทำให้งานต่าง ๆ เหล่านั้น มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลตามภารกิจของคณะที่ตั้งไว้